วิทยาการคำนวณ ชั้น ป.6 ครูพิไลวรรณ ซาวบุญตัน
ศึกษาการใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการอธิบายและออกแบบวิธีการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตประจำวัน ออกแบบและเขียนโปรแกรมอย่างง่ายและตรวจหาข้อผิดพลาดของโปรแกรม ใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำงานร่วมกันอย่างปลอดภัย เข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตน เคารพในสิทธิของผู้อื่น แจ้งผู้เกี่ยวข้องเมื่อพบข้อมูลหรือบุคคลที่ไม่เหมาะสม

วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ครูเอื้องคำ บุญวงศ์
รหัสวิชา ว ๑๑๑๐๑
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ ๑
เวลาเรียน ๑ ชั่วโมง/สัปดาห์
เวลา ๔๐ ชั่วโมง
สำรวจ ทดลอง อธิบาย เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต ลักษณะและหน้าที่ของโครงสร้างภายนอกของพืชและสัตว์ ลักษณะหน้าที่และความสำคัญของอวัยวะภายนอกของมนุษย์ ตลอดจนการดูแลรักษาสุขภาพ ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่นและนำมาจัดจำแนกโดยใช้ลักษณะภายนอกเป็นเกณฑ์ ลักษณะที่ปรากฏหรือสมบัติของวัสดุที่ใช้ทำของเล่น ของใช้ในชีวิตประจำวันและจำแนกวัสดุที่ใช้ทำของเล่น ของใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งระบุเกณฑ์ที่ใช้จำแนก การดึงหรือการผลักวัตถุ องค์ประกอบและสมบัติ ทางกายภาพของหินในท้องถิ่น ระบุว่าในท้องฟ้ามีดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาว และ ใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ การทำงานและแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้เท่าทัน และมีจริยธรรม

วิทยาศาสตร์ ป.2 (ครูเอื้องคำ บุญวงศ์)
ศึกษา วิเคราะห์ ความต้องการแสงและน้ำเพื่อการเจริญเติบโตของพืช วัฏจักรชีวิตของพืชดอก ลักษณะของสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต สมบัติของวัสดุ การนำสมบัติของวัสดุไปประยุกต์ใช้ในการทำวัตถุในชีวิตประจำวัน ประโยชน์ของการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ การเคลื่อนที่ของแสงจากแหล่งกำเนิดแสง การมองเห็นวัตถุโดยเสนอแนะแนวทางการป้องกันอันตราย ส่วนประกอบของดิน การจำแนกชนิดของดินโดยใช้ลักษณะเนื้อดินและการจับตัวเป็นเกณฑ์ การใช้ประโยชน์จากดิน การแก้ปัญหาโดยใช้ภาพ สัญลักษณ์หรือข้อความ การเขียนโปรแกรมอย่างง่าย โดยใช้สื่อซอฟต์แวร์ การใช้เทคโนโลยีในการสร้าง จัดเก็บ เรียกใช้ข้อมูล การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ใช้กระบวนการการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ
คิดในเชิงคำนวณในการแก้ปัญหา ตระหนักและเห็นคุณค่าของการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ครู อัจฉรา ปินทรายมูล
ศึกษา วิเคราะห์ ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่คล้ายคลึงกันของพ่อ แม่ และลูก การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น สมบัติของวัสดุ การจําแนกวัสดุประโยชน์ของวัสดุ การเปลี่ยนแปลงของวัสดุการเปลี่ยนแปลงการ เคลื่อนที่ของวัตถุ แรงที่โลกดึงดูดวัตถุแหล่งพลังงานที่ใช้ผลิตไฟฟ้า การใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและปลอดภัย สมบัติทางกายภาพของน้ำจากแหล่งน้ำในท้องถิ่น การใช้ประโยชน์จากน้ำและแหล่งน้ำ ส่วนประกอบและความสําคัญของอากาศการเคลื่อนที่ของอากาศ การขึ้น-ตกของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ การเกิด กลางวัน กลางคืน และการกําหนดทิศ
ทั้งนี้โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การสืบเสาะหาความรู้ การสํารวจตรวจสอบ การสืบค้นข้อมูล และการอภิปราย
เพื่อให้เกิดความรู้ความคิดความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการตัดสินใจ นําความรู้ไปใช้ในชีวิตประจําวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

วิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ครูกมลชนก สะคำปัน
การบรรยายความสามารถในการขุดรากถอนโคนของพืชและสัตว์โดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายได้มีการรวบรวมสิ่งมีชีวิตไว้ในรูปแบบของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ออกเป็นพืชดอกและพืชโดยไม่ต้องใช้ใบมีดโดยใช้ ข้อมูลที่รวบรวมได้จากการรวบรวมสัตว์ออกเป็นสัตว์มีไว้เพื่อการอนุรักษ์และสัตว์ไม่เจริญข้อมูลที่รวบรวมได้บรรยายหลากหลายรูปแบบที่เห็นได้ชัดเจนของสัตว์ในพื้นที่กลุ่มสัตว์ป่าและสัตว์ต่าง ๆ กลุ่มสัตต การเปรียบเทียบความเป็นพิษในร่างกายกลุ่มเปรียบเทียบเทคโนโลยีและการตลาดของวัสดุที่ใช้ในเชิงพาณิชย์จากการทดลองและการระบุสมบัติทางเทคโนโลยีที่มีผลต่อการใช้งานในชีวิตประจำวันความคิดของผู้อื่นโดยการ อภิปรายเกี่ยวกับสมบัติทางกายภาพของวัสดุอย่างมีเหตุผลจากการทดลองเปรียบเทียบสมบัติของสารเคมีทั้ง ๓ การค้นพบรูปแบบและรูปแบบการใช้งาน ี่หลากหลายของวัสดุที่ใช้ในการชั่งน้ำหนักและการลดน้ำหนักในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงวัดน้ำหนักของวัตถุบรรยายมวลของวัตถุที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการเดินทางของวัตถุจากการค้าขายเชิงประจักษ์

วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ครูจิรภาพร บุญธรรม
ศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับโครงสร้างและลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่เหมาะสมในแต่ละแหล่งที่อยู่ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งไม่มีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต และความสัมพันธ์กับสิ่งไม่มีชีวิต โซ่อาหารและบทบาทหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตที่เป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคในโซ่อาหาร ตระหนักในคุณค่าของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ลักษณะทางพันธุกรรมที่มีการถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูกของพืช สัตว์ และมนุษย์ ลักษณะที่คล้ายคลึงกันของตนเองกับพ่อแม่ การหาแรงลัพธ์ของแรงหลายแรงในแนวเดียวกันที่กระทำต่อวัตถุในกรณีที่วัตถุอยู่นิ่ง การเขียนแผนภาพแสดงแรงที่กระทำต่อวัตถุที่อยู่ในแนวเดียวกันและแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุ การใช้เครื่องชั่งสปริงในการวัดแรงที่กระทำต่อวัตถุ ผลของแรงเสียดทานที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ การเขียนแผนภาพแสดงแรงเสียดทานและแรงที่อยู่ในแนวเดียวกันที่กระทำต่อวัตถุ การได้ยินเสียงผ่านตัวกลาง การเกิดเสียงสูง เสียงต่ำ การเกิดเสียงดัง เสียงค่อย การวัดระดับเสียงโดยใช้เครื่องมือวัดระดับเสียง และเสนอแนะแนวทางในการหลีกเลี่ยงและลดมลพิษทางเสียง
วิทยาศาสตร์(วิทยาการคำนวณ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ครูพิไลวรรณ ซาวบุญตัน..
ศึกษาการใช้เหตุผลเชิงตรรกะในการแก้ปัญหา การทำงาน การคาดการณ์ผลลัพธ์จากปัญหาอย่างง่าย การออกแบบและเขียนโปรแกรมที่มีการใช้เหตุผลเชิงตรรกะอย่างง่าย ตรวจหาขอผิดพลาดและแก้ไข การใช้อินเทอร์เน็ตค้นหาข้อมูล ติดต่อสื่อสารและทำงานร่วมกัน ประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล การรวบรวม ประเมิน นำเสนอข้อมูล และสารสนเทศตามวัตถุประสงค์ โดยใช้ซอฟต์แวร์หรือบริการบนอินเทอร์เน็ตที่หลากหลายเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย มีมารยาท เข้าใจสิทธิและหน้าที่ของตนเอง เคารพในสิทธิของผู้อื่น และแจ้งผู้เกี่ยวข้องเมื่อพบข้อมูลหรือบุคคลที่ไม่เหมาะสม

วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ครูวาสนา ถาวิโร
ศึกษาวิเคราะห์ ระบบหมุนเวียนเลือดของมนุษย์ ระบบหายใจของมนุษย์ ระบบขับถ่ายของมนุษย์ ระบบประสาทของมนุษย์ การคุมกำเนิด องค์ประกอบของสารละลาย สภาพละลายได้ของสารและปัจจัยที่มีผลต่อสภาพละลายได้ ความเข้มข้นของสารละลาย ตำแหน่งของวัตถุ ระยะทางและการกระจัด ความเร็วและอัตราเร็ว แรงเสียดทาน แรงและความดันของของเหลว แรงพยุง โมเมนต์ของแรง แรงและสนามของแรง
โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่ 21 การสืบค้นข้อมูลและการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรูและนำความรู้มีความสามารถในการตัดสินใจ การแก้ปัญหา การนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ครูวาสนา ถาวิโร
ศึกษา วิเคราะห์ ทดลอง อธิบาย และสร้างแบบจำลอง ลักษณะของโครโมโซม ยีน กระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ความผิดปกติและโรคทางพันธุกรรม การใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม คลื่นกล คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การสะท้อนของแสง การหักเหของแสง ความสว่าง ทัศนอุปกรณ์ ความสัมพันธ์ระหว่างดวงอาทิตย์ โลก ดวงจันทร์และดาวเคราะห์อื่นๆ องค์ประกอบของเอกภพ กาแล็กซี และระบบสุริยะ เทคโนโลยีอวกาศที่ใช้สำรวจอวกาศ
โดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ การสำรวจตรวจสอบ การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และทักษะในศตวรรษที่ 21 การสืบค้นข้อมูลและการอภิปราย เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และมีความสามารถในการตัดสินใจ การแก้ปัญหา การนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตวิทยาศาสตร์ จริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม