ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ภาคเรียนที่ ๒ ครูณัฏฐ์ณิชชา วงศ์ใหญ่
amphai wongyai

ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ภาคเรียนที่ ๒ ครูณัฏฐ์ณิชชา วงศ์ใหญ่

คำอธิบายรายวิชา

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                                                                ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

รายวิชา  ภาษาไทย ๘  ( รหัส  ท ๒๑๑๐๒ )                                                เวลา   ๖๐    ชั่วโมง

 

การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรอง  การจับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่าน  ระบุและอธิบาย  คำเปรียบเทียบและคำที่มีหลายความหมายในบริบทต่างจากการอ่านการ ตีความคำยากในเอกสารวิชาการ         โดยพิจารณาจากบริบท   การวิเคราะห์คุณค่าที่ได้รับจากการอ่าน งานเขียนอย่างหลากหลายเพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิต  มรรยาทในการอ่าน  การเขียนบรรยายประสบการณ์โดยรุบุสาระสำคัญและรายละเอียดสนับสนุน        การเขียนเรียงความ การเขียนรายงานศึกษาค้นคว้าและโครงงาน  มรรยาทในการเขียน การพูดแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู การประเมินความน่าเชื่อถือของสื่อที่มีเนื้อหาโน้มน้าวใจ  มรรยาทในการฟัง  การดู และการพูด  การวิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค  การวิเคราะห์ความแตกต่างของภาษาพูดและภาษาเขียน  การจำแนกและใช้สำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต การสรุปเนื้อหาวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน  การวิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่านพร้อมหาเหตุผลประกอบ  อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรม  ที่อ่าน  การสรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่านเพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

 โดยใช้กระบวนการ ทักษะการอ่านการอ่าน การอ่านจับใจความ   การอธิบาย   อภิปราย   นำเสนอข้อมูล

ทักษะการเขียน การเขียนสื่อสารสื่อความ  โดยใช้ภาษาในการสื่อสารอย่างเหมาะสม  ทักษะการฟัง การดู การพูด การใช้ภาษาในการพูด ทักษะการใช้หลักภาษา  ทักษะหลักการวิเคราะห์ วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรม         การพิจารณาคุณค่าในวรรณคดี ทักษะกระบวนการกลุ่ม การคิดวิเคราะห์ การจำแนกและการนำไปใช้

มีเจตคติที่ดีต่อวิชาภาษาไทย  รักความเป็นไทย  มีความรับผิดชอบ  ความเอาใจใส่   การมีส่วนร่วม        มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน และมีความซื่อสัตย์   

 

ตัวชี้วัด

ท ๑.๑    ม.๑/๑,ม.๑/๒ ,ม.๑/๔, ม.๑/๕, ม.๑/๘, ม.๑/๙   

ท ๒.๑    ม.๑/๓,ม.๑/๔ ,ม.๑/๗, ม.๑/๘

ท ๓.๑    ม.๑/๓,ม.๑/๔, ม.๑/๖  

ท ๔.๑    ม.๑/๓ ,ม.๑/๔, ม.๑/๖  

ท ๕.๑    ม.๑/๑,ม.๑/๒,ม.๑/๓, ม.๑/๔  

 

รวม  ๒๐  ตัวชี้วัด

 

 


ภาษาไทย ประถมศึกษาปีที่ 1 ครูดวงใจ  อินสี
duangjai insee

ภาษาไทย ประถมศึกษาปีที่ 1 ครูดวงใจ อินสี

การอ่านออกเสียงคำ คำคล้องจอง และข้อความสั้นๆ บอกความหมายของคำและข้อความที่อ่าน ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน เล่าเรื่องย่อจากเรื่องที่อ่าน คาดคะเนเหตุการณ์จากเรื่องที่อ่าน อ่านหนังสือตามความสนใจอย่างสม่ำเสมอและนำเสนอเรื่องที่อ่าน บอกความหมายของเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์สำคัญที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน  คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด เขียนสื่อสารด้วยคำและประโยคง่าย ๆ  ฟังคำแนะนำคำสั่งง่ายๆและปฏิบัติตาม ตอบคำถาม เล่าเรื่องที่ฟังและดูทั้งที่เป็นความรู้ความบันเทิง      พูดแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกจากเรื่องที่ฟังและดู พูดสื่อสารได้ตามวัตถุประสงค์ บอกและเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ เลขไทย เขียนสะกดคำและบอกความหมายของคำ เรียบเรียงคำเป็นประโยคง่ายๆ ต่อคำคล้องจองง่ายๆ  บอกข้อคิดที่ได้จากการอ่าน หรือการฟังวรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรองสำหรับเด็ก ท่องจำบทอาขยายตามที่กำหนดและบทร้อยกรองตามความสนใจ รู้จักธรรมชาติและความเป็นมาของภาษาล้านนาและวรรณกรรมล้านนา

          โดยใช้กระบวนการคิด ทักษะการสื่อสาร สรุป วิเคราะห์ข้อมูลจากเรื่องและสื่อต่างๆที่อ่านฟังและดูเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจสามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ มีความสามารถในการแยกแยะ ตัดสินใจนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

          มีนิสัยรักการอ่าน มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดุและการพูด เห็นคุณค่าและมีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงานและมีจิตสาธารณะ


ภาษาไทยป.2 ครูอำพร   ภักดีภิบาล
amporn pakdeepibal

ภาษาไทยป.2 ครูอำพร ภักดีภิบาล

คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชา ท 12101  ชื่อวิชา   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 2       ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

เวลาเรียน ๕  ชั่วโมง/สัปดาห์                                                          เวลา   200  ชั่วโมง

 

          สร้างองค์ความรู้และความคิด  เพื่อนำไปใช้ตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต  สามารถตั้งคำถาม   ตอบคำถาม  ระบุใจความสำคัญ  รายละเอียด   แสดงความคิดเห็นและคาดคะเนเหตุการณ์ จากเรื่องที่อ่าน  สามารถเลือกฟัง  ดู  พูด  เรื่องที่เป็นความรู้   ความบันเทิง   คำสั่งที่ซับซ้อน  ข่าวเหตุการณ์   บอกสาระสำคัญจากการฟังและการดู   ตั้งคำถาม  ตอบคำถาม เกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู  เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย  การเปลี่ยนแปลงของภาษา  พลังของภาษา  ภูมิปัญญา  ทางภาษา  บอกความหมายของคำ    เข้าใจ แสดงความคิดเห็น    ระบุข้อคิดที่ได้จากการอ่านหรือฟังนิทานสำหรับเด็ก   ร้องบทร้องเล่นสำหรับเด็กในท้องถิ่น

            ผู้เรียนได้รับการฝึกและพัฒนาทักษะกระบวนการอ่าน  อ่านออกเสียงคำ  คำคล้องจอง  ข้อความ  คำที่มีรูปวรรณยุกต์  คำที่มีตัวสะกดตรงมาตราและไม่ตรงมาตรา  คำที่มีอักษรควบ อักษรนำ  คำที่มีตัวการันต์  คำที่มี รร  คำที่มีพยัญชนะ  สระที่ไม่ออกเสียง   และบทร้อยกรองง่ายๆ ได้ไม่น้อยกว่า  800 คำ   อ่านข้อเขียนเชิงอธิบายและทำตามคำสั่ง หรือข้อแนะนำ  ใช้กระบวนการเขียนตามรูปแบบการเขียนตัวอักษรไทยด้วยตัวบรรจงเต็มบรรทัดเขียนสื่อสาร     เขียนเรียงความ  เขียนย่อความ  เขียนเรื่องราวสั้นๆ ตามจินตนาการโดยต่อเติมเป็นเรื่องที่สมบูรณ์  หรือเปลี่ยนเรื่องใหม่เกี่ยวกับประสบการณ์  เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศและรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ  พูดขอร้องด้วยถ้อยคำที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม  เล่าประสบการณ์      โดยสื่อสารกับผู้อื่นได้ชัดเจน  บอกและเขียนพยัญชนะ  สระ  วรรณยุกต์  เขียนสะกดคำ  เรียบเรียงคำเป็นประโยคได้ตรงตามเจตนาของการสื่อสาร   แต่งคำคล้องจองง่ายๆ   เลือกใช้ภาษาไทย  ภาษาถิ่นได้เหมาะสมกับกาลเทศะ  ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ  เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน   

มีนิสัยรักการอ่าน  อ่านหนังสือตามความสนใจอย่างสม่ำเสมอ และนำเสนอเรื่องที่อ่าน   พูดแสดงความคิดเห็นและความรู้สึกจากเรื่องที่ฟังและดู  ดูอย่างมีวิจารณญาณ  พูดแสดงความรู้ ความคิด  ความรู้สึกในโอกาสต่าง ๆ อย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์  วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทยอย่างเห็นคุณค่ามีมารยาทในการฟัง  ดู และพูด  นำมาประยุกต์ใช้     ในชีวิตจริง  เป็นผู้มีวินัย ใฝ่เรียนรู้อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสาธารณะ รักความเป็นไทย

 

ตัวชี้วัด

ท 1.1ป.2/1        ท 1.1ป.2/2        ท 1.1ป.2/3     ท 1.1ป.2/4           ท 1.1ป.2/5         ท 1.1ป.2/6             ท 1.1ป.2/7        ท 1.1ป.2/8        ท 2.1ป.2/1        ท 2.1ป.2/1        ท 2.1ป.2/2        ท 2.1ป.2/3             ท 2.1ป.2/4        ท 3.1ป.2/1        ท 3.1ป.2/2        ท 3.1ป.2/3        ท 3.1ป.2/4        ท 3.1ป.2/5 

ท 3.1ป.2/6        ท 3.1ป.2/7        ท 4.1ป.2/1        ท 4.1ป.2/2        ท 4.1ป.2/3        ท 4.1ป.2/4             ท 4.1ป.2/5        ท 5.1ป.2/1        ท 5.1ป.2/2        ท 5.1ป.2/3                             

รวม   ๒๗  ตัวบ่งชี้

 


ภาษาไทย ประถมศึกษาปีที่ 3  ครูไพลิน  แสนใจมูล
pailin sanjaimoon

ภาษาไทย ประถมศึกษาปีที่ 3 ครูไพลิน แสนใจมูล

รายวิชา ภาษาไทย

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3                                                                                 ภาคเรียนที่

รหัสวิชา  13101                                                                                      เวลา 200 ชั่วโมง/ปี

 

       ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการอ่านออกเสียงคำ คำคล้องจอง ข้อความ และบทร้อยกรองง่ายๆ วรรณคดีและวรรณกรรม พร้อมอธิบายความหมายของคำ และประโยค อ่านหนังสือที่มีคุณค่าตามความสนใจอย่างสม่ำเสมอและนำเสนอเรื่องที่อ่าน และปฏิบัติตามข้อเขียนเชิงอธิบาย คำสั่ง และข้อเสนอแนะ อธิบายความหมายของข้อมูลจากการอ่านแผนภาพ แผนที่ และแผนภูมิ การเขียนเรื่องตามจินตนาการ บันทึกประจำวัน เขียนจดหมายลาครู คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนด และบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ พูดสื่อสารได้ชัดเจนตรงตามวัตถุประสงค์ เล่ารายละเอียดจากเรื่องที่ฟังและดู พร้อมบอกสาระสำคัญ ตั้งคำถาม ตอบคำถาม และพูดแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดูอย่างมีมารยาท เขียนสะกดคำและ  บอกความหมายของคำ ระบุชนิด หน้าที่ของคำในประโยค แต่งประโยค คำคล้องจอง และคำขวัญ ใช้พจนานุกรมค้นหาความหมายของคำ และเลือกใช้ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาถิ่นได้เหมาะสมกับกาลเทศะ

       ศึกษาและวิเคราะห์วรรณกรรมร้อยแก้วและร้อยกรองสำหรับเด็กเรื่อง วิชาหนาเจ้า นิทานของเพื่อน      เพลงกล่อมเด็กของคุณแม่ ชาดกสอนใจ และโอรสน้อยพบพระบิดา เพื่อสรุปความรู้และข้อคิดที่ได้จากการอ่าน ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

       โดยใช้การฝึกทักษะกระบวนการทางภาษา ทั้งในด้านการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน กระบวน  การคิด กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการกลุ่ม

       เพื่อให้เกิดเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาภาษาไทย ตั้งใจเรียนและมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน ค้นคว้า   หาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ ซักถามและสืบค้นเพื่อหาข้อมูล มีความรอบคอบในการทำงาน ใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม มีมารยาทในการพูด การอ่าน การเขียน และการฟัง นำความรู้     ที่ได้จากการศึกษาไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

 

       ตัวชี้วัด

       ท 1.1    ป.3/1   ป.3/2 ป.3/3   ป.3/4   ป.3/5   ป.3/6   ป.3/7   ป.3/8   ป.3/9

       ท 2.1    ป.3/1  ป.3/2  ป.3/3   ป.3/4   ป.3/5   ป.3/6      

       ท 3.1    ป.3/1  ป.3/2  ป.3/3   ป.3/4   ป.3/5   ป.3/6

       ท 4.1    ป.3/1  ป.3/2  ป.3/3   ป.3/4   ป.3/5   ป.3/6      

       ท 5.1    ป.3/1  ป.3/2  ป.3/3   ป.3/4

        รวม  31  ตัวชี้วัด


 


ภาษาไทย ป.6 ครูวริยาภรณ์  ทักษชีพดำรง
wariyaporn thaksacheepdamrong

ภาษาไทย ป.6 ครูวริยาภรณ์ ทักษชีพดำรง

อ่านเรื่องสั้นๆ อย่างหลากหลายโดยจับเวลาแล้วถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน อ่านหนังสือตามความสนใจและอธิบายคุณค่าที่ได้รับ มีมารยาทในการอ่าน วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองได้ถูกต้อง อธิบายการนำความรู้ และความคิดจากเรื่องที่อ่านไปตัดสินใจแก้ปัญหาในการดำเนินชีวิต คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัดและครึ่งบรรทัด มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด เขียนย่อความจากเรื่องที่อ่าน รวบรวมและบอกความหมายของคำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย แสดงความคิดเห็นจากวรรณคดีหรือวรรณกรรมที่อ่าน พูดแสดงความรู้ ความเข้าใจจุดประสงค์ของเรื่องที่ฟังและดู ตั้งคำถามและตอบคำถามเชิงเหตุผลจากเรื่องที่ฟัง และดู ใช้คำได้เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล อธิบายคุณค่าวรรณคดีหรือวรรณกรรมที่อ่าน แยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่าน วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากการฟังและดูสื่อโฆษณาอย่างมีเหตุผล อ่านหนังสือตามความสนใจและอธิบายคุณค่าที่ได้รับ มีมารยาทในการอ่าน เขียนสื่อสารโดยใช้คำถูกต้อง ชัดเจน และเหมาะสม มีมารยาทในการเขียน พูดรายงานเรื่องหรือประเด็นที่ศึกษาค้นคว้าจากการฟัง การดู และการสนทนา ระบุลักษณะของประโยค อธิบายความหมายของคำ ประโยค และข้อความที่เป็นโวหาร เขียนเรียงความ วิเคราะห์และเปรียบเทียบสำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต พูดโน้มน้าวอย่างมีเหตุผลและน่าเชื่อถือ อ่านงานเขียนเชิงอธิบาย คำสั่ง ข้อแนะนำ และปฏิบัติตาม เขียนแผนภาพโครงเรื่องและแผนภาพความคิด เขียนจดหมายส่วนตัว แต่งบทร้อยกรอง ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองตามความสนใจ อธิบายความหมายของข้อมูลจากการอ่านแผนผัง แผนที่ แผนภูมิ และกราฟ กรอกแบบรายการต่างๆ เขียนเรื่องตามจินตนาการและสร้างสรรค์ เล่านิทานพื้นบ้านท้องถิ่นตนเอง และนิทานพื้นบ้านของท้องถิ่นอื่น

          โดยใช้กระบวนการทางภาษา ได้แก่ กระบวนการอ่าน กระบวนการเขียน กระบวนการฟัง กระบวนการพูด และการดู การคิด เพื่อให้เกิดความรู้ ความคิด ความเข้าใจ สามารถสื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีจิตสำนึกรักภาษาไทย และมีค่านิยมที่

ภาษาไทย ชั้น ม. 1 (ภาคเรียนที่ 1) ครูณัฏฐ์ณิชชา วงศ์ใหญ่
amphai wongyai

ภาษาไทย ชั้น ม. 1 (ภาคเรียนที่ 1) ครูณัฏฐ์ณิชชา วงศ์ใหญ่

คำอธิบายรายวิชา

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย                                                            ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

รายวิชา  ภาษาไทย ๗  ( รหัส  ท ๒๑๑๐๑ )                                           เวลา   ๖๐   ชั่วโมง

 

การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรอง   การจับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านการระบุเหตุและผลและข้อเท็จจริงกับข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่าน การระบุและอธิบายคำเปรียบเทียบและคำที่มีหลายความหมายในบริบทต่างๆจากการอ่าน  การตีความ คำยาก ในเอกสารวิชาการ โดยพิจารณาจากบริบทการระบุข้อสังเกต  ความสมเหตุสมผลของงานเขียนประเภทชักจูงโน้มน้าวใจ  การปฏิบัติตามคู่มือแนะนำวิธีการใช้งานของเครื่องมือหรือเครื่องใช้ในระดับที่ยากขึ้น การวิเคราะห์คุณค่าที่ได้จากการอ่าน งานเขียนอย่างหลากหลาย เพื่อนำไปใช้แก้ปัญหาในชีวิต  มารยาทในการอ่าน

การคัดลายมือตัวบรรจงครึ่งบรรทัด   การเขียนสื่อสารโดยใช้ถ้อยคำถูกต้อง ชัดเจน เหมาะสมและสละสลวย การเขียนบรรยายประสบการณ์โดยระบุสาระสำคัญชัดเจน และรายละเอียดสนับสนุน   การเขียนเรียงความ   การเขียนย่อความจากเรื่องที่อ่าน การเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสาระจากสื่อที่ได้รับ  การเขียนจดหมายส่วนตัว และจดหมายกิจธุระ การเขียนรายงาน ศึกษาค้นคว้า  มรรยาทในการเขียน    

การพูดสรุปใจความสำคัญของเรื่อง  การเล่าเรื่องย่อจากเรื่องที่ฟังและดู  การพูดแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับเรื่องที่ฟังและดู  การประเมินความน่าเชื่อถือของสื่อที่มีเนื้อหาโน้มน้าวใจ  การพูดรายงานหรือประเด็นศึกษาค้นคว้า  มรรยาทในการฟัง การดู และการพูด 

การอธิบายลักษณะของเสียงในภาษา  การสร้างคำในภาษา การแต่งบทร้อยกรองประเภทกาพย์ (กาพย์ยานี๑๑)

การสรุปเนื้อหาวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน   การวิเคราะห์วรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน พร้อมยกเหตุผลประกอบ  อธิบายคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรม   ที่อ่าน  การสรุปความรู้ และข้อคิดจากการอ่าน   เพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง  การท่องจำบาทอาขยานตามที่กำหนดและบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ

 

ตัวชี้วัด

ท ๑.๑     ม.๑/๑,ม.๑/๒, ม.๑/๓, ม.๑/๖ ,ม.๑/๗, ม.๑/๘, ม.๑/๙

ท ๒.๑     ม.๒/๑,ม.๑/๕,ม.๑/๖ ,ม.๑/๗, ม.๑/๙

ท ๓.๑     ม.๓/๑,ม.๑/๒, ม.๑/๕, ม.๑/๖

ท ๔.๑     ม.๔/๑,ม.๑/๒, ม.๑/๕

ท ๕.๑     ม.๕/๑,ม.๑/๒,ม.๑/๓,ม.๑/๔, ม.๑/๕

 

รวม   ๒๔  ตัวชี้วัด

 

 

 

 

 


ภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2   ครูสุกัญญา ชัยวงค์

ภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ครูสุกัญญา ชัยวงค์

อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรอง จับใจความสำคัญ สรุปความ และอธิบายรายละเอียดจากเรื่องที่อ่าน  เขียนผังความคิด เพื่อแสดงความเข้าใจ      ในบทเรียนต่างๆที่อ่าน  อภิปรายแสดงความคิดเห็นและข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน  เลือกอ่านหนังสืออย่างหลากหลาย มีมารยาทในการอ่าน  คัดลายมือ     ตัวบรรจงครึ่งบรรทัด  เขียนบรรยายและพรรณนา  เขียนเรียงความ  ย่อความ  เขียนรายงาน เขียนวิเคราะห์วิจารณ์แสดงความคิดเห็นอย่างมีมารยาท       ในการเขียนพูดสรุปใจความสำคัญ  วิเคราะห์ข้อเท็จจริง  ข้อคิดเห็น  และความน่าเชื่อถือของข่าวสารจากสื่อต่างๆ พูดสรุปความ แสดงความรู้ความคิดเห็น   พูดรายงาน พูดในโอกาสต่างๆ มีมารยาทในการฟัง  การดู  การพูด สร้างคำในภาษาไทย  วิเคราะห์โครงสร้างประโยคสามัญ ประโยครวม ประโยคซ้อน      สรุปเนื้อหา วิเคราะห์ วิจารณ์ วรรณคดีวรรณกรรม และวรรณกรรมท้องถิ่น  ท่องจำบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ

 


ภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3   ครูสุกัญญา ชัยวงค์
sukunya chaiwong

ภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ครูสุกัญญา ชัยวงค์

อ่านออกเสียงร้อยแก้วและบทร้อยกรองเป็นทำนองเสนาะได้ถูกต้อง เข้าใจความหมายโดยตรงและความหมายโดยนัย 

จับใจความสำคัญและรายละเอียดของสิ่งที่อ่าน เขียนกรอบแนวคิด ผังความคิด ย่อความ เขียนรายงานจากสิ่งที่อ่านได้ 

วิเคราะห์ วิจารณ์ อย่างมีเหตุผล มีมารยาทในการอ่าน

                  เขียนข้อความสื่อสารด้วยลายมือที่อ่านง่าย ถูกต้องตามระดับภาษา เขียนชีวประวัติ โดยเล่าเหตุการณ์ ข้อคิดเห็น และทัศนคติในเรื่องต่าง ๆ เขียนย่อความ จดหมายกิจธุระ อย่างมีมารยาท

                  พูดแสดงความคิดเห็น วิเคราะห์ วิจารณ์ ประเมินค่าสิ่งที่ได้จากการฟัง การดู นำข้อคิดไปประยุกต์ใช้

ในชีวิตประจำวัน พูดรายงานหรือประเด็นที่ศึกษาค้นคว้าจากการฟัง การดู อย่างเป็นระบบและมีมารยาท

                  จำแนกและใช้คำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย วิเคราะห์โครงสร้างประโยคซับซ้อนวิเคราะห์ระดับภาษา

                  สรุปเนื้อหาวรรณคดี วรรณกรรมที่อ่าน วิเคราะห์ตัวละครสำคัญ วิถีชีวิตไทย และคุณค่าที่ได้รับจากวรรณคดี วรรณกรรม   พร้อมทั้งสรุปความรู้ข้อคิด เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง และใช้อ้างอิงโดยใช้ทักษะการอ่าน การเขียน การฟัง การดู  การพูด  การวิเคราะห์ วิจารณ์  การอภิปรายเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ  สามารถใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร เพื่อให้เกิดความรู้ สามารถตัดสินใจ ใฝ่เรียนรู้  มีวินัย เห็นคุณค่าความเป็นไทย   และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน อย่างมีมารยาท และคุณธรรม ค่านิยมที่เหมาะสม