วิชาดนตรี-นาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ครูเมธารัตน์ อุตม์อ่าง
metarat utarng

วิชาดนตรี-นาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ครูเมธารัตน์ อุตม์อ่าง

     ศึกษา วิเคราะห์ อธิบายโครงสร้างของบทเพลง ความหมายของเนื้อหาในบทเพลง การเคลื่อนที่ขึ้น-ลงของทำนอง รูปแบบจังหวะ และความเร็วของจังหวะ เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี ประเภทของเครื่องดนตรี เสียงของเครื่องดนตรีแต่ละประเภท การใช้และดูแลรักษาเครื่องดนตรี ความสัมพันธ์ของวิถีชีวิตกับผลงานดนตรี การอนุรักษ์วัฒนธรรมทางดนตรี

     ศึกษา อธิบาย วิพากษ์วิจารณ์ความเป็นมาของนาฏศิลป์ หลักและวิธีการปฏิบัตินาฏศิลป์ การใช้ภาษาท่าและนาฏยศัพท์ประกอบเพลงปลุกใจและเพลงพระราชนิพนธ์ การใช้ศัพท์ทางการละครในการถ่ายทอดเรื่องราว การประดิษฐ์ท่าทางหรือท่ารำประกอบจังหวะพื้นเมือง การแสดงนาฏศิลป์ประเภทคู่และหมู่ การเล่าเรื่อง การชมการแสดง

     โดยใช้ทักษะกระบวนการทางดนตรีและนาฏศิลป์ ในการแสดงออกทางดนตรีและนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่างานดนตรีและนาฏศิลป์

     เพื่อให้เห็นคุณค่างานดนตรีและนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล และเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี-นาฏศิลป์ กับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีจริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมที่เหมาะสม

    


ดนตรี-นาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ครูเมธารัตน์ อุตม์อ่าง
metarat utarng

ดนตรี-นาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ครูเมธารัตน์ อุตม์อ่าง

ศึกษาระบุองค์ประกอบดนตรีในเพลงที่ใช้ในการสื่ออารมณ์ จำแนกลักษณะของเสียงขับร้องและ        เครื่องดนตรีที่อยู่ในวงดนตรีประเภทต่างๆ อ่าน เขียน โน้ตดนตรีไทยและสากล 5 ระดับเสียง สามารถใช้    เครื่องดนตรีบรรเลงจังหวะและทำนอง ร้องเพลงไทยหรือเพลงสากลที่เหมาะสมกับวัย ด้นสดง่ายๆ โดยใช้ประโยคเพลงแบบถาม-ตอบ นำดนตรีมาร่วมกับกิจกรรมในการแสดงออกตามจินตนาการ สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับประเพณีในวัฒนธรรมต่างๆ บอกคุณค่าของดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมที่ต่างกัน

     เข้าใจและแสดงออกทางนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ โดยเน้นการใช้ภาษาท่าและนาฏยศัพท์ในการสื่อความหมายและการแสดงออก บรรยายองค์ประกอบของนาฏศิลป์ พร้อมแสดงท่าทางประกอบเพลงหรือเรื่องราวตามความคิดของตน มีส่วนร่วมในกลุ่มกับการเขียนเค้าโครงเรื่องบทละครสั้นๆ เปรียบเทียบที่มาของการแสดงนาฏศิลป์ชุดต่างๆ และบอกประโยชน์ที่ได้รับจากการชมการแสดง เปรียบเทียบการแสดงประเภทต่างๆ ของไทยในแต่ละท้องถิ่น ระบุหรือแสดงนาฏศิลป์ นาฏศิลป์พื้นบ้านที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมและประเพณี

     โดยใช้ทักษะกระบวนการทางดนตรีและนาฏศิลป์ ในการแสดงออกทางดนตรีและนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์ วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์คุณค่างานดนตรีและนาฏศิลป์

     เพื่อให้เห็นคุณค่างานดนตรีและนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างดนตรี-นาฏศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน


ดนตรี-นาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครูเมธารัตน์ อุตม์อ่าง
metarat utarng

ดนตรี-นาฏศิลป์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครูเมธารัตน์ อุตม์อ่าง

ดนตรี

          ศึกษาองค์ประกอบงานดนตรีและศัพท์สังคีต  ประเภทและบทบาทหน้าที่เครื่องดนตรีไทย และเครื่องดนตรีที่มาจากวัฒนธรรมต่าง ๆ  เรื่องราวของดนตรีไทยในประวัติศาสตร์  ยุคสมัยต่าง ๆ อิทธิพลของวัฒนธรรมต่อดนตรีไทยในท้องถิ่น

          ฝึกทักษะการอ่าน  เขียนโน้ตไทย  โน้ตสากล  ทำนองง่าย  ๆ  การใช้เครื่องดนตรีบรรเลงประกอบการร้องเพลง  ด้นสด  การสร้างสรรค์รูปแบบจังหวะและทำนองด้วยเครื่องดนตรี การบรรยายความรู้สึกและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับทำนอง  จังหวะ  การประสานเสียงและคุณภาพเสียงในบทเพลง

          เห็นคุณค่าของดนตรีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ภูมิปัญญาไทยและสากล  มีความคิดสร้างสรรค์  ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน  มีวินัยใฝ่เรียนรู้  มุ่งมั่นในการทำงาน  รักความเป็นไทย  มีจิตสาธารณะ

 

นาฏศิลป์

          ศึกษาความหมาย ความเป็นมา ความสำคัญของนาฏศิลป์และละคร บทบาทและหน้าที่ในงานนาฏศิลป์และการละคร  หลักการชมและประโยชน์ที่ได้รับจากการแสดง การชมนาฏศิลป์     และละคร  ความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์และการละครกับสิ่งที่ประสบในชีวิตประจำวัน  การออกแบบเครื่องแต่งกาย  อุปกรณ์การแสดง

          ฝึกทักษะการเคลื่อนไหวและการแสดง  การถ่ายทอดลีลา  อารมณ์  การแสดงนาฏศิลป์  การแสดงละคร  รำวงมาตรฐาน  ระบำ  ฟ้อน  ละครสร้างสรรค์

          เห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ภูมิปัญญาไทยและสากล  มีความคิดสร้างสรรค์  ชื่นชมและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน  มีวินัย  ใฝ่เรียนรู้  มุ่งมั่นในการทำงาน  รักความเป็นไทย  มีจิตสาธารณะ

 


ศิลปะ  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1  ครูสถาพร วังธิยอง
sathaporn wangtiyong

ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ครูสถาพร วังธิยอง

ศึกษา วิเคราะห์ ความหมายและความสำคัญขององค์ประกอบศิลป์ ทัศนธาตุ สร้างและนำเสนอผลงานทางทัศนศิลป์จากจินตนาการ โดยสามารถใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม รวมทั้งสามารถใช้เทคนิค วิธีการของศิลปินในการสร้างงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิเคราะห์ วิพากษ์ วิจารณ์คุณค่างานทัศนศิลป์ เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างทัศนศิลป์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม เห็นคุณค่างานศิลปะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทยและสากล ชื่นชม ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

        โดยใช้กระบวนการคิด กระบวนการสืบค้นข้อมูล  กระบวนการปฏิบัติ กระบวนการพิจารณาคุณค่า เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำไปปฏิบัติและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม