คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ครูแพรวพรรณ   ติใหม่
praewpan timai

คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ครูแพรวพรรณ ติใหม่

คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชา ค11101                    

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์                           

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

เวลาเรียน  5   ชั่วโมง/สัปดาห์

รวม 200  ชั่วโมง                                  ศึกษาการอ่านและเขียนตัวเลขฮินดูอารบิก ตัวเลขไทย และตัวหนังสือแสดงจำนวนนับ 1 ถึง 100 และ 0 การบอกอันดับที่ หลักและค่าประจำหลัก การเขียนตัวเลขแสดงจำนวนในรูปกระจาย การแสดงจำนวนไม่เกิน 20 ในรูปความสัมพันธ์ของจำนวนแบบส่วนย่อย-ส่วนรวม การเปรียบเทียบจำนวนนับ 1 ถึง 100 และ 0 โดยใช้เครื่องหมาย = ≠ > < การเรียงลำดับจำนวนนับ 1 ถึง 100 และ 0 ตั้งแต่ 3 ถึง 5 จำนวน  การบวกและการลบจำนวนที่มีตัวตั้งและผลลัพธ์ไม่เกิน 100 การหาตัวไม่ทราบค่าในประโยคสัญลักษณ์ โจทย์ปัญหาการบวก โจทย์ปัญหาการลบ การสร้างโจทย์ปัญหา รูปเรขาคณิตสองมิติและรูปเรขาคณิตสามมิติ แบบรูปของจำนวนที่เพิ่มขึ้นทีละ 1 และทีละ 10  แบบรูปของจำนวนที่ลดลงทีละ 1 และทีละ 10 แบบรูปซ้ำของจำนวน รูปเรขาคณิต และรูปอื่นๆ การวัดและเปรียบเทียบความยาวเป็นเซนติเมตร เป็นเมตร โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวที่มีหน่วยเป็นเซนติเมตร เป็นเมตร การชั่งน้ำหนักโดยใช้หน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน การชั่งและเปรียบเทียบน้ำหนักเป็นกิโลกรัม เป็นขีด โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับน้ำหนักที่มีหน่วยเป็นกิโลกรัม เป็นขีด การอ่านแผนภูมิรูปภาพ วิเคราะห์ข้อมูลจากแผนภูมิรูปภาพ และใช้ข้อมูลตอบคำถามของโจทย์ปัญหา

          โดยการจัดประสบการณ์หรือสร้างสถานการณ์ที่ใกล้ตัวให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า  ปฏิบัติจริง ทดลอง สรุป รายงาน เพื่อพัฒนาทักษะและกระบวนการในการคิดคำนวณ การแก้ปัญหา การสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ การเชื่อมโยง การให้เหตุผล  การคิดอย่างสร้างสรรค์ และนำประสบการณ์ด้านความรู้ ความคิด ทักษะกระบวนการที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่างๆ และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์

          มีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

 

รหัสตัวชี้วัด

1.1   ป1/1   ค 1.11/2   ค 1.1 ป1/3   ค 1.11/4   ค 1.11/5   ค 1.21/1  

2.11/1   ค 2.11/2  ค 2.21/1  

3.11/1 

รวมทั้งหมด        10       ตัวชี้วัด


คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ครูศิลากาญจน์  รุ่งเรือง
silakarn rungruang

คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ครูศิลากาญจน์ รุ่งเรือง


คำอธิบายรายวิชากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

     ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕     

 

ศึกษา ฝึกทักษะการคิดคำนวณ และฝึกการแก้ปัญหาในเนื้อหาเกี่ยวกับการเปรียบเทียบเศษส่วนและจำนวนคละ การบวก การลบเศษส่วนและจำนวนคละ การคูณ การหารของเศษส่วนและจำนวนคละ การบวก ลบ คูณ หารระคนของเศษส่วนและจำนวนคละ การแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วนและจำนวนคละ ความสัมพันธ์ระหว่างเศษส่วนและทศนิยม ค่าประมาณของทศนิยมไม่เกิน 3 ตำแหน่งให้เป็นจำนวนเต็มหน่วย ทศนิยม 1 ตำแหน่ง และ 2 ตำแหน่ง การใช้เครื่องหมาย » การประมาณผลลัพธ์ของการบวก การลบ การคูณ การหารทศนิยม การคูณทศนิยม การหารทศนิยม ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยความยาวเซนติเมตรกับมิลลิเมตร เมตรกับเซนติเมตร กิโลเมตรกับเมตร การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวและน้ำหนักโดยใช้ความรู้เกี่ยวกับทศนิยมและการเปลี่ยนหน่วย การแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้บัญญัติไตรยางศ์ การอ่านและการเขียนร้อยละหรือเปอร์เซ็นต์ การแก้โจทย์ปัญหาร้อยละ เส้นตั้งฉากและสัญลักษณ์แสดงเส้นตั้งฉาก เส้นขนานและสัญลักษณ์แสดงการขนาน การสร้างเส้นขนาน มุมแย้ง มุมภายในและมุมภายนอกที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดขวาง ชนิดและสมบัติของรูปสี่เหลี่ยม การสร้างรูปสี่เหลี่ยม ความยาวรอบรูปของรูปสี่เหลี่ยม พื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานและรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวรอบรูปและพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน และรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ลักษณะและส่วนต่างๆ ของปริซึม ปริมาตรของรูปทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากและความจุของภาชนะทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ความสัมพันธ์ระหว่าง มิลลิลิตร ลิตร ลูกบาศก์เซนติเมตร และลูกบาศก์เมตร การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับปริมาตรของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากและความจุของภาชนะทรงสี่เหลี่ยม-มุมฉาก การอ่านและการเขียนแผนภูมิแท่ง การอ่านกราฟเส้น

โดยจัดประสบการณ์หรือสร้างสถานการณ์ที่ใกล้ตัวผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้า ฝึกทักษะ โดยการปฏิบัติจริง ทดลอง สรุป รายงาน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดคำนวณ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการแก้ปัญหา การสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ การเชื่อมโยง การให้เหตุผล และการคิดสร้างสรรค์ และนำประสบการณ์ด้านความรู้ ความคิด ทักษะและกระบวนการที่ได้ไปใช้ในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ และใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์

เพื่อให้เห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ สามารถทางานได้อย่างเป็นระบบ มีระเบียบ รอบคอบมีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีความเชื่อมั่นในตนเอง


 


คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครูชญานันท์ หลายแห่ง
Chayanan Laihaeng

คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครูชญานันท์ หลายแห่ง

ศึกษาความหมาย การอ่าน และการเขียนทศนิยมสามตำแหน่ง หลัก ค่าประจำหลัก  และค่าของเลขโดดในแต่ละหลักของทศนิยมสามตำแหน่ง การเขียนทศนิยมในรูปกระจาย  การเปรียบเทียบและเรียงลำดับทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่ง การเขียนทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่งในรูปเศษส่วน   การเขียนเศษส่วนที่ตัวส่วนเป็น  ตัวประกอบของ 10,  100,  1,000 ในรูปทศนิยม    การบวก การลบ การคูณ การหารเศษส่วน  การบวก  การลบ  การคูณ  การหารจำนวนคละ  การบวก  ลบ คูณ  หารระคนของเศษส่วนและจำนวนคละ  ทศนิยมที่มีผลลัพธ์เป็นทศนิยมไม่เกินสามตำแหน่ง    โจทย์ปัญหาการบวก  การลบ  การคูณ การหาร  และการบวก ลบ  คูณ  หารระคนของจำนวนนับ    การสร้างโจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ  การหาร และการบวก ลบ  คูณ  หารระคนของจำนวนนับ    โจทย์ปัญหาการบวก  การลบ  การคูณ  การหาร  และการบวก  ลบ  คูณ  หารระคนของเศษส่วน    โจทย์ปัญหาการบวก  การลบ  การคูณ  การหาร  และการบวก  ลบ  คูณ  หารระคนของทศนิยม    การสร้างโจทย์ปัญหาการคูณ การหาร  และการคูณ หารระคนของทศนิยม   โจทย์ปัญหาร้อยละในสถานการณ์ต่าง ๆ  รวมถึงโจทย์ปัญหาร้อยละเกี่ยวกับการหากำไร ขาดทุน การลดราคา  การหาราคาขาย  การหาราคาทุน และดอกเบี้ย  ค่าประมาณใกล้เคียง  เป็นจำนวน เต็มหมื่น  เต็มแสน  และเต็มล้าน  ค่าประมาณใกล้เคียงทศนิยมหนึ่งตำแหน่งและสองตำแหน่งการบวก    การคูณ   การบวก ลบ  คูณ   หารระคน    ตัวประกอบ จำนวนเฉพาะ   และตัวประกอบเฉพาะการหา ห.ร.ม.และ ค.ร.น. การบอกตำแหน่งโดยใช้ทิศ   มาตราส่วน   การอ่านแผนผัง     การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมโดยใช้ความยาวของด้าน    การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมโดยใช้สมบัติของเส้นทแยงมุม    การหาความยาวรอบรูปวงกลมหรือความยาวรอบวง   การหาพื้นที่ของรูปวงกลม  การคาดคะเนพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวรอบรูปและพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยม   โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวรอบรูปและพื้นที่ของรูปวงกลม  โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับปริมาตรหรือความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก   โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับปริมาตรหรือความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก   การเขียนแผนผังแสดงสิ่งต่าง ๆ   การเขียนแผนผังแสดงเส้นทางการเดินทาง   การเขียนแผนผังโดยสังเขป ส่วนประกอบของรูปเรขาคณิตสามมิติ (ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก  ทรงกลม  ทรงกระบอก  กรวย ปริซึม  พีระมิด)   สมบัติของเส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยม      การพิจารณาเส้นขนานโดยอาศัยมุมแย้ง  การพิจารณาเส้นขนานโดยอาศัยผลบวกของขนาดของมุมภายในที่อยู่บนข้างเดียวกันของเส้นตัดเป็น  180  องศา   รูปคลี่ของรูปเรขาคณิตสามมิติ (ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ทรงกลม  ทรงกระบอก กรวย ปริซึม พีระมิด)   การประดิษฐ์รูปเรขาคณิตสามมิติ   การสร้างรูปสี่เหลี่ยมเมื่อกำหนดความยาวของด้านและขนาดของมุม หรือเมื่อกำหนดความยาวของเส้นทแยงมุม   ปัญหาเกี่ยวกับแบบรูป   สมการเชิงเส้นที่มีตัวไม่ทราบค่าหนึ่งตัว    การแก้สมการโดยใช้สมบัติของการเท่ากันเกี่ยวกับการบวก  การลบ   การคูณ  หรือการหาร การแก้โจทย์ปัญหาด้วยสมการ การอ่านกราฟเส้น และแผนภูมิรูปวงกลม  การเขียนแผนภูมิแท่งเปรียบเทียบและกราฟเส้น    การคาดคะเนเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของเหตุการณ์ต่าง ๆ

          เพื่อให้มีความรู้  ความสามารถ ทักษะ และคุณลักษณะตามมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามตัวชี้วัด

คณิตศาสตร์ ม.1 (ครูสร้อยใจ บุญมา)
soijai boonma

คณิตศาสตร์ ม.1 (ครูสร้อยใจ บุญมา)

ศึกษาการเปรียบเทียบจำนวนเต็ม จำนวนตรงข้ามและค่าสัมบูรณ์ การบวก การลบ การคูณ และการหาร จำนวนเต็ม สมบัติของจำนวนเต็ม และการนำความรู้เกี่ยวกับจำนวนเต็มไปใช้ในชีวิตจริง เศษส่วน การเปรียบเทียบเศษส่วน การบวก การลบ การคูณ และการหารเศษส่วน และการนำไปใช้ในชีวิตจริง ทศนิยม ค่าประจำหลักทศนิยมการเปรียบเทียบทศนิยม การบวก การลบ การคูณ และการหารทศนิยม (ไม่รวมผลลัพธ์ที่เป็นทศนิยม)ความสัมพันธ์ของเศษส่วนกับทศนิยม การนำความรู้เกี่ยวกับทศนิยมไปใช้ในชีวิตจริง และจำนวนตรรกยะและสมบัติของจำนวนตรรกยะ การเขียนเลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก การคูณและการหารเลขยกกำลัง เมื่อเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็มบวก การเขียนจำนวนในรูปสัญกรณ์วิทยาศาสตร์ และการนำความรู้เกี่ยวกับเลขยกกำลังไปใช้ในชีวิตจริง หน้าตัดของรูปเรขาคณิตสามมิติ การอธิบายภาพสองมิติที่ได้จากการมองด้านหน้า ด้านข้าง และด้านบนของรูปเรขาคณิตสามมิติ และรูปเรขาคณิตสามมิติที่ประกอบขึ้นจากลูกบาศก์ แบบรูปและความสัมพันธ์คำตอบของสมการเชิงเส้น ตัวแปรเดียว การแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว และการนำความรู้เกี่ยวกับสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวไปใช้ในชีวิตจริง โดยจัดประสบการณ์หรือสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าโดยการูปฏิบัติจริง ทดลอง สรุป รายงาน เพื่อ พัฒนาทักษะ/กระบวนการในการคิดคำนวณ แก้ปัญหา การให้เหตุผล และนำความรู้ ความคิด ทักษะกระบวนการที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้เห็นคุณค่าและมีเจตนคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ สามารถทำงานได้อย่างเป็นระบบ มีระเบียบ มีความรับผิดชอบ มีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีความเชื่อมั่นในตนเอง


คณิตศาสตร์ ม.2 (ครูสร้อยใจ บุญมา)
soijai boonma

คณิตศาสตร์ ม.2 (ครูสร้อยใจ บุญมา)

ศึกษา วิเคราะห์ อธิบาย ฝึกทักษะการแก้ปัญหาในสาระต่อไปนี้

                     จํานวนตรรกยะ เลขยกกําลังที่มีเลขชี้กําลังเป็นจํานวนเต็มการนําความรู้เกี่ยวกับเลขยกกําลัง  ไปใช้ในการแก้ปัญหา

                      จํานวนจริง จํานวนอตรรกยะ จํานวนจริง รากที่สองและรากที่สามของจํานวนตรรกยะ การนําความรู้เกี่ยวกับจำนวนจริงไปใช้

                     พหุนาม พหุนาม การบวก การลบ และการคูณของพหุนาม การหารพหุนามด้วยเอกนามที่มีผลหารเป็นพหุนาม การนำความรู้เกี่ยวกับหลักการการดําเนินการของพหุนามและใช้พหุนามในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์

การแปลงทางเรขาคณิต การเลื่อนขนาน การสะท้อน การหมุน การนำความรู้เกี่ยวกับ

การแปลงทางเรขาคณิตไปใช้ในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง

                     พื้นที่ผิว การหาพื้นที่ผิวของปริซึมและทรงกระบอก ประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องพื้นที่ผิวของปริซึมและทรงกระบอกในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง

ปริมาตร การหาปริมาตรของปริซึมและทรงกระบอก การประยุกต์ใช้ความรู้เรื่องปริมาตร

ของปริซึมและทรงกระบอกในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง

                    ทฤษฎีบทพีทาโกรัส ทฤษฎีบทพีทาโกรัสและบทกลับ การนำความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีบทพีทาโกรัสและบทกลับไปใช้ในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง

                    สถิติ(2) การนำเสนอและวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ แผนภาพจุด แผนภาพต้นใบ ฮิสโทแกรม ค่ากลางของข้อมูล และการแปลความหมายผลลัพธ์ รวมทั้งนำสถิติไปใช้ในชีวิตจริง โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม

                    ความเท่ากันทุกประการ ความเท่ากันทุกประการของรูปเรขาคณิต ความเท่ากันทุกประการของรูปสามเหลี่ยม รูปสามเหลี่ยมสองรูปสัมพันธ์กันแบบ ด้าน-มุม-ด้าน รูปสามเหลี่ยมสองรูปสัมพันธ์กันแบบ มุม-ด้าน-มุม รูปสามเหลี่ยมสองรูปสัมพันธ์กันแบบ ด้าน-ด้าน-ด้าน รูปสามเหลี่ยมสองรูปสัมพันธ์กันแบบ มุม-มุม-ด้านรูปสามเหลี่ยมสองรูปสัมพันธ์กันแบบ ฉาก-ด้าน-ด้าน การนำความรู้เกี่ยวกับความเท่ากัน การนำความรู้เกี่ยวกับสมบัติของรูปสามเหลี่ยมที่เท่ากันทุกประการในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง

                     เส้นขนาน เส้นขนานของมุมภายใน เส้นขนานและมุมแย้ง เส้นขนานและมุมภายนอกกับมุมภายใน เส้นขนานและรูปสามเหลี่ยม

                     การให้เหตุผลทางเรขาคณิต  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการให้เหตุผลทางเรขาคณิต การสร้างและการให้เหตุผลเกี่ยวกับการสร้าง การให้เหตุผลเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยม ในการสร้างใช้ความรู้ทางเรขาคณิตและเครื่องมือ เช่น วงเวียนและสันตรง รวมทั้งโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad หรือโปรแกรมเรขาคณิตพลวัตอื่น ๆ เพื่อสร้างรูปเรขาคณิตตลอดจนนำความรู้เกี่ยวกับการสร้างนี้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง

                     การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสอง  การแยกตัวประกอบของพหุนามโดยใช้สมบัติการแจกแจง การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองตัวแปรเดียว การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นกําลังสองสมบูรณ์ การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองที่เป็นผลต่างของกําลังสอง การนำความรู้เกี่ยวกับ  การแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรีสองในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์

   

โดยนำความรู้ ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่หลากหลายมาใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสม มีเหตุผลประกอบในการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร สื่อความหมาย และนำเสนอได้อย่างถูกต้องชัดเจน เชื่อมโยงความรู้ต่างๆในคณิตศาสตร์และนำความรู้ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่นๆและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

เพื่อให้เกิดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สามารถทำงานอย่างมีระบบระเบียบ รอบคอบ รับผิดชอบมีวิจารณญาณ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีความซื่อสัตย์สุจริตมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย  มีจิตสาธารณะ พร้อมทั้งตระหนักในคุณค่าและมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์